หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 10


บันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม 2563 เวลา 08:30-12:30 น.
 เนื้อหาที่เรียน (เรียนออนไลน์)
             การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (คณิตศาสตร์) 
               องค์ประกอบของการเขียนแผนจัดประสบการณ์
                  ▸วัตถุประสงค์
                  ▸สาระที่ควรเรียนรู้
                  ▸เนื้อหา
                  ▸แนวคิด
                  ▸ประสบการณ์สำคัญ
                  ▸กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
                  ▸บูรณการทักษะรายวิชา
                ▸กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        ตัวอย่างการเขียนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ วันศุกร์
หน่วยส้ม (การประกอบอาหาร)

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                    1.activity       กิจกรรม
                    2.experience ประสบการณ์
                    3.orange        ส้ม
                    4.frame           กรอบ
                    5.Integration   บูรณการ

ประเมิน
            ประเมินตนเอง : ค่อยข้างไม่ค่อยเข้าใจแต่ก็พยายามตั้งใจฟังเนื่องจากเป็นการเรียนออไลน์
            ประเมินเพื่อน : ค่อนข้างตั้งใจฟังที่อาจารย์บอก
            ประเมินอาจารย์: อธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 9


บันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่16  มีนาคม 2563 เวลา 08:30-12:30 น.

เป็นการทำงานดูความเรียบร้อยของการทำ blogger หรือแฟ้มสะสมผลงาน โดยอาจารย์ให้ทำงานทุกและแก้ไขที่ยังไม่เรียบร้อย เนื่อจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิจัย

วิจัยเรื่อง:ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

นางสาวปณิชา มโนสิทธยากร
ตามหลักสูตรปริญญาการศกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2553


บทนำ
            คณิตศาสตร์เป็นทักษะด้านหนึ่งที่ควรส่งเสริม และจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตประจําวัน ชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย  เด็กต้องสังเกต และจดจําตําแหน่งของสีของที่ต้องใช้อยู่เป็นประจํานอกจากนี้เด็กต้องนับจํานวนสิ่งของของใช้ความคิด เกี่ยวกับการเปรียบเทียบจํานวนสิ่งของว่า กลุ่มใดมีจํานวนมากว่ากลุ่มใด
           การฝึกทักษะเบื้องตนในด้านการคํานวณ โดยสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยในการ เปรียบเทียบรูปทรงต่างๆ บอกความแตกต่างของขนาด น้ําหนัก  จํานวนของสิ่งต่างๆ  พร้อมที่จะคิดคํานวณในขั้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกม การศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต  
           2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต


ขอบเขตของการวิจัย
         ขอบเขตประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
               ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้น อนุบาล 3 โรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการ

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
               กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จํานวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย มา 1 ห้องเรียน จากจํานวนทั้งหมด 2 ห้องเรียน 

       ขอบเขตด้านตัวแปร
              1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 
              2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
      ขอบเขตระยะเวลา
             การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทําการทดลองเป็น เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาทีทําการทดลองในช่วงเวลา 13.00-13.40 น

การดำเนินการวิจัย
       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
             1. กิจกรรมเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วน จํานวน 60 กิจกรรม  
             2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จํานวน 50 ข้อ

       วิธีการดําเนินการทดลอง
             1. ก่อนการเล่นเกม ผู้วิจัยทําการทดสอบก่อนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์จํานวน 3 วัน วันละ 2 – 3 ด้าน  
            2. ผู้วิจัยดําเนินการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตด้วยตนเอง ซึ่งใช้ระยะเวลา ในการเล่น 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง 
            3. ในการดําเนินการเล่นเกมในแต่ละวัน เด็กจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน เด็กสามารถเลือกเข้ากลุ่มด้วยตนเอง ในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนจะจัดวางโต๊ะเป็นกลุ่มและ จัดอุปกรณ์เกมให้พอกับจํานวนของกลุ่มโดยมีแผ่นหลักที่เด็กเลือกเองและมีแผ่นย่อยในจํานวนที่มากกว่า เพื่อให้เด็กสามารถเลือกต่อได้หลากหลาย รู้จักสักเกต เปรียบเทียบขนาด จํานวน การวางตําแหน่ง และเรียงลําดับในรูปเรขาคณิตได้ถูกต้อง ในแต่ละกลุ่ม เมื่อเล่นเสร็จแล้วเด็กจัดเก็บเข้าชุดเดิมแล้วจึง สลับกลุ่มเข้ากลุุ่มใหม่ โดยแต่ละกลุ่มจะไปเข้ากลุ่มที่ตนเองเลือกพร้อมกัน ในแต่ละวันจะจัดการเล่น เกมการศึกษาตามแผนการจัดกิจกรรม จํานวน 2 ถึง 3 เกม

สรุปผลการวิจัย
          เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตเพื่อการเรียนรูป เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์

ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้
         1. ครูควรนํากิจกรรมเกมการศกษาเน้นเศษส่วนขอรูปเรขาคณิตมาใช้ในการพัฒนา ทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
          2. ก่อนเด็กจะลงมือเล่นเกมครูควรมีความมั่นใจว่า เด็กได้เข้าใจวิธีการเล่นเป็นอย่างดีแล้ว หากพบว่า เด็กยังไม่เข้าใจหรือมีปัญหาควรรีบเขาไปอธิบายการเล่นให้เด็กเข้าใจ  
         3. ในระหว่างทํากิจกรรม ครูควรสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองกับเด็ก เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้เด็กได้กล้าเล่น เปิดโอกาสให้เด็กได้ลือกเล่นเกม และเมื่อเห็นเด็กที่ยังไม่เข้าใจในการเล่น ครูควร รีบเข้าไปช่วยเหลือ 
         4. ควรนําเกม เกมการศึกษาเน้นเศษสวนของรูปเรขาคณิตไปจัดไว้ในห้องเรียน



ตัวอย่างการสอน

ตัวอย่างการสอน : หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
ตัวอย่างการสอนของ : คุณครูสุพิศ ทองขาว
โรงเรียน: โรงเรียนบ้านชะอวด ชั้นอนุบาล2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
จาก: ทรูปัญญา เพื่อนครู
การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการผ่านหน่วย อาหารดีมีประโยชน์ โดยผ่านการพูดคำคล้องจ้อง การร้องเพลง 
การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน
      1.ครูจะท่องคำจ้องเรื่อง อาหารดีมีประโยชน์ให้เด็กพูดตามก่อนที่จะเริ่มการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ พอเด็กๆท่องคำค้องจองได้ แล้วก็ให้เด็กๆได้ลองนับชื่ออาหารจากคำคล้องจ้องมีมีกี่ชนิด (มี 9 ชนิด ผักสด เนื้อหมู เนื้อปู เนื้อปลา เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ นม ผลไม้ เรียงตามลำดับ) โดยจะให้เด็กลองนับจำนวน
     2.ครูได้มีบัตรรูปภาพของขนิดอาหารในคำคล้องจ้อง โดยจะวางสลับไปมาและให้เด็กเรียงภาพให้ตรงกับเนื้อเพลงคำคล้องจอง
ตัวอย่างการสอนนี้ได้เรียนรู้เรื่องของจำนวน และการเรียนลำดับว่าลำดับไหนมาก่อนมาหลัง

บทความ

บทความ:เรื่องคณิตศาสตร์กับพัฒนาการของเด็ก
ที่มา:สุภัตรา ทรัพย์อุปการ

             พัฒนาการทางด้านการคำนวณในวัยเด็ก สังเกตง่ายๆ จากพฤติกรรมการปลูกฝังหรือพยายามให้ลูกคุ้นเคยกับตัวเลขกันตั้งแต่เด็ก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุของวัยเด็ก
                  ทักษะสำคัญต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านคณิตศาสตร์ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การนับ การจดจำ การจำแนกประเภท

 พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 1-2 ปี   
            ช่วงวัยนี้ กมีการฝึกนับจำนวนเพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยจำนวนที่นับอยู่ในช่วง 1-10 คุณพ่อคุณแม่ควรเปล่งเสียงให้เด็ก ๆ ฟังบ่อย ๆ ซึ่งจะสร้างความคุ้นหูและคุ้นเคยให้เด็กเป็นอย่างดี และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนนับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสนใจของเด็ก 
พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 3-4 ปี
            วัยนี้ เริ่มเข้าสู่การขีดเขียน โดยคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มได้เห็นการเขียนตัวเลขตามลำดับจำนวน การนับ ลำดับ ความสามารถในการเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนัก ความเร็ว และบอกเวลา
พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 5-6 ปี         
            เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดในระดับชั้นอนุบาล ซึ่งจะได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการคำนวณตัวเลขพื้นฐาน อย่างการบวกและการลบอย่างง่าย

              พัฒนาการที่กล่าวไปเบื้องต้นก็เป็นพื้นฐานพัฒนาการทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นสำหรับเด็กเท่านั้น ในวัยเด็กช่วงอายุต่อไป ก็จะเป็นไว้ที่ได้รับการพัฒนาจากคุณครูในชั้นเรียนต่อไป

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 8

บันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 9 มีนาคม 2563 เวลา 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
        การบูรณาการสาระคณิตสสาสตร์ เข้ากับหน่วยการเรียนรู้โดยผ่าน 6 กิจกรรมหลักของเด็กปฐมวัย จะเป็นการบูรณาการทั้ง 5 วัน (1สัปดาห์) 
       หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ส้ม 
         ▸ชนิด
         ▸ลักษณะ
         ▸กา่รดูแลรักษ
         ▸ประโยชน์
         ▸ข้อระวัง
โดยจะให้บูรณาการเข้ากับการเรียนรู้สาระคณิตศาตร์ในแต่ละวัน 
ตัวอย่างวันศุกร์
    เนื่องจาก ข้อระวังมีน้อย วันศุกร์เลยปรับเปลี่ยนให้เด็กได้มีการลงมือทำและได้ทำน้ำส้มคั้น ก็จะบูรณาการ
    เนื่อหา วัตถุดิบ    ▹ส้ม 5 ผล
                              ▹เกลือ ครึ่งช้อนชา
                              ▹น้ำเชื่อม 3 ช้อน
                              ▹น้ำแข็ง 1 แก้ว
               อุปกรณ์   ▹ที่คั้งน้ำผลไม้ 1 อัน 
                              ▹ช้อน 1 คัน
                              ▹เหยือก1 เหยือก
                              ▹แก้ว 1 ใบ
                              ▹มีด 1 เล่ม
   การจัดประสบการณ์    
           การจัดประสบการณ์   
                 ▹ครูอธิบายขั้นตอนการทำ
                 ▹ครูแจกวัตถุดิบและอุปกรณ์
                 ▹กลุ่มไหนทำเสร็จแล้วให้นำสติ๊กเกอร์มาแปะที่ป้ายเวลาที่ครูเตรียมไว้ให้
         ขั้นตอนการทำ
                 ▹นำส้มทั้งหมด 5 ผลมาล้างน้ำให้สะอาด
                 ▹ผ่าครึ่งของผลส้มทั้งหมด
                 ▹น้ำส้มที่ผ่าครึ่งมาบีบน้ำด้วยที่คั้นน้ำผลไม้
                 ▹นำเกลือและน้ำเชือมที่เตียมไว้มาใส่ในน้ำส้ม
                 ▹นำน้ำแข็งใส่แก้ว แล้วเทน้ำส้มที่ผสมแล้วลงไป
                 ▹พร้อมรับประทาน
   สาระคณิตศษสตร์
                 ▹จำนวนของวัตถุดิบ
                 ▹จำนวนอุปกรณ์
                 ▹รูปทรงของอุปกรณ์
                 ▹ลำดับขั้นตอนการทำ
                 ▹เวลา

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                                 1.Raw material  วัตถุดิบ
                                 2.Equipment      อุปกรณ์
                                 3.Mathematics   คณิตศาสตร์
                                 4.Duration          ระยะเวลา
                                 5.Rank                ลำดับขั้น   
ประเมิน
               ประเมินตัวเอง       ตั้งใจฟังอาจาร์อธิบาย ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ
               ประเมินเพื่อน       ตั้งใจและทำงานอย่างตั้งใจ
               ประเมินอาจารย์    อธิบายการทำมายแมทและการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์โดยผ่านหน่วยการเรียนรู้และผ่านกิจกรรมทั้ง6กิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                  การบูรณาการ คือ การผสมผสานเป็นการสอนที่ไม่ชัดเจน
                
              การทำ mind mapping ที่ดี
1.วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษ   เพราะพื้นที่ว่างตรงกลางแผ่นกระดาษนั้นทำให้สมองเรารู้สึกถึงความมีอิสระพร้อมที่จะสร้างสรรเพิ่มเติมได้อย่างเต็มที่ 

2.ใช้รูปภาพหรือจะวาดรูปประกอบไอเดียที่เราเพิ่งจะเขียนลงไปตรงกลางเมื่อกี้ เพราะรูปภาพนั้นสื่อความหมายได้มากมาย 

3.เล่นสีเยอะๆ เพราะสีสันที่สดใส จะทำให้สมองเราตื่นตัว รู้สึกตื่นเต้น ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่าน โดยเฉพาะสีเหลืองคือสีที่สมองเราจำแม่นสุดที่สุด

4.วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลางต้องให้เส้นเชื่อมต่อกันเพื่อให้สมองเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน เอาข้อมูลต่างๆ มาผสมกันเพื่อให้เราจำง่ายขึ้น

5.วาดเส้นโค้งเข้าไว้สมองเราอ่อนไหวนะครับ ไม่ชอบอะไรที่ทื่อๆ ตรงๆ หรอกครับ และที่สำคัญคือ มันสวยดีครับ

6. เขียนคีย์เวิร์ดบนเส้นกิ่งอย่าไปเขียนใต้กิ่ง หรือเว้นว่างๆ ไว้เพราะมันจะทำให้เราคิดแบบไม่ต่อเนื่อง พยามหาคำโดนๆ สั้นๆ เพื่อให้เราจำง่ายดีกว่าครับ

7.ให้เขียนหัวข้อวนไปทางขวา

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                                 1.Mind map     ผังความคิด
                                 2.Center           กึ่งกลาง
                                 3.Care              การดูแลรักษา
                                 4.Caution         ข้อระวัง
                                 5.Blend            การผสมผสาน
ประเมิน
                     ประเมินตัวเอง  ลาป่วย
                     ประเมินเพื่อน  -
                     ประเมินอาจารย์  -