หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิจัย

วิจัยเรื่อง:ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

นางสาวปณิชา มโนสิทธยากร
ตามหลักสูตรปริญญาการศกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2553


บทนำ
            คณิตศาสตร์เป็นทักษะด้านหนึ่งที่ควรส่งเสริม และจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตประจําวัน ชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย  เด็กต้องสังเกต และจดจําตําแหน่งของสีของที่ต้องใช้อยู่เป็นประจํานอกจากนี้เด็กต้องนับจํานวนสิ่งของของใช้ความคิด เกี่ยวกับการเปรียบเทียบจํานวนสิ่งของว่า กลุ่มใดมีจํานวนมากว่ากลุ่มใด
           การฝึกทักษะเบื้องตนในด้านการคํานวณ โดยสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยในการ เปรียบเทียบรูปทรงต่างๆ บอกความแตกต่างของขนาด น้ําหนัก  จํานวนของสิ่งต่างๆ  พร้อมที่จะคิดคํานวณในขั้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกม การศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต  
           2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต


ขอบเขตของการวิจัย
         ขอบเขตประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
               ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้น อนุบาล 3 โรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการ

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
               กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จํานวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย มา 1 ห้องเรียน จากจํานวนทั้งหมด 2 ห้องเรียน 

       ขอบเขตด้านตัวแปร
              1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 
              2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
      ขอบเขตระยะเวลา
             การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทําการทดลองเป็น เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาทีทําการทดลองในช่วงเวลา 13.00-13.40 น

การดำเนินการวิจัย
       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
             1. กิจกรรมเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วน จํานวน 60 กิจกรรม  
             2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จํานวน 50 ข้อ

       วิธีการดําเนินการทดลอง
             1. ก่อนการเล่นเกม ผู้วิจัยทําการทดสอบก่อนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์จํานวน 3 วัน วันละ 2 – 3 ด้าน  
            2. ผู้วิจัยดําเนินการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตด้วยตนเอง ซึ่งใช้ระยะเวลา ในการเล่น 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง 
            3. ในการดําเนินการเล่นเกมในแต่ละวัน เด็กจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน เด็กสามารถเลือกเข้ากลุ่มด้วยตนเอง ในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนจะจัดวางโต๊ะเป็นกลุ่มและ จัดอุปกรณ์เกมให้พอกับจํานวนของกลุ่มโดยมีแผ่นหลักที่เด็กเลือกเองและมีแผ่นย่อยในจํานวนที่มากกว่า เพื่อให้เด็กสามารถเลือกต่อได้หลากหลาย รู้จักสักเกต เปรียบเทียบขนาด จํานวน การวางตําแหน่ง และเรียงลําดับในรูปเรขาคณิตได้ถูกต้อง ในแต่ละกลุ่ม เมื่อเล่นเสร็จแล้วเด็กจัดเก็บเข้าชุดเดิมแล้วจึง สลับกลุ่มเข้ากลุุ่มใหม่ โดยแต่ละกลุ่มจะไปเข้ากลุ่มที่ตนเองเลือกพร้อมกัน ในแต่ละวันจะจัดการเล่น เกมการศึกษาตามแผนการจัดกิจกรรม จํานวน 2 ถึง 3 เกม

สรุปผลการวิจัย
          เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตเพื่อการเรียนรูป เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์

ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้
         1. ครูควรนํากิจกรรมเกมการศกษาเน้นเศษส่วนขอรูปเรขาคณิตมาใช้ในการพัฒนา ทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
          2. ก่อนเด็กจะลงมือเล่นเกมครูควรมีความมั่นใจว่า เด็กได้เข้าใจวิธีการเล่นเป็นอย่างดีแล้ว หากพบว่า เด็กยังไม่เข้าใจหรือมีปัญหาควรรีบเขาไปอธิบายการเล่นให้เด็กเข้าใจ  
         3. ในระหว่างทํากิจกรรม ครูควรสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองกับเด็ก เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้เด็กได้กล้าเล่น เปิดโอกาสให้เด็กได้ลือกเล่นเกม และเมื่อเห็นเด็กที่ยังไม่เข้าใจในการเล่น ครูควร รีบเข้าไปช่วยเหลือ 
         4. ควรนําเกม เกมการศึกษาเน้นเศษสวนของรูปเรขาคณิตไปจัดไว้ในห้องเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น